Skip to content
Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

ประชุมหารือแนวทางการปรับปรุงโครงสร้างกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

โดยมี นายแพทย์สุระ วิเศษศักดิ์
(อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ)
เป็นประธานการประชุม

แสดงผลการเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วย
ที่มีรายละเอียดอย่างน้อยประกอบด้วย

(๑) ประเด็นหรือเรื่องในการมีส่วนร่วม

การประชุมหารือแนวทางการปรับปรุงโครงสร้างกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ เวลา ๑๙.๓๐ – ๑๒.00 น. ณ ท้องประชุมอธิบดี ชั้น ๘ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้เชิญหน่วยงานภายนอกกรมฯ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) และกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (กพร.สป.สธ.) ร่วมหารือแนวทางการปรับโครงสร้างและภารกิจของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และหน่วยงานในสังกัด เพื่อจัดตั้งหน่วยงานใหมให้เป็นหน่วยงานตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดหน่วยงานในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามภารกิจที่สำคัญตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ นโยบายรัฐบาล นโยบายกระทรวงสาธารณสุข แผนปฏิบัติราชการกระทรวงสาธารณสุข นโยบายกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และแผนปฏิบัติราชการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพที่เกี่ยวข้อง

(๒) สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) และกลุ่มพัฒนาระบบบริการสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (กพร.สป.สธ.) ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า กระทรวงสาธารณสุขกำลังดำเนินการทบทวนแผนปฏิรูปกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้สอดรับกับการเพิ่มบทบาทภารกิจในมิติด้านเศรษฐกิจสุขภาพ และการเพิ่มบทบาทของหน่วยงานในส่วนภูมิภาคทั้ง ๑๒ เขตสุขภาพ เพื่อให้มีความคล่องตัวและรวดเร็วในการดำเนินงานยิ่งขึ้น รวมทั้งมีโครงสร้างหน่วยงานในการขับเคลื่อนงานอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ ในส่วนของการจัดตั้งหน่วยงานของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เนื่องจากมีหน่วยงานของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานในส่วนภูมิภาคซึ่งมีบทบาทภารกิจคล้ายคลึงกัน จึงเห็นควรให้รอความซัดเจนของการทบทวนแผนปฏิรูปกระทรวงสาธารณสุขก่อน เพื่อให้การปรับโครงสร้างสอดรับเป็นไปในทิศทางเดียวกันในภาพกระทรวงสาธารณสุขในส่วนของแนวทางการดำเนินการหากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพเลือกแนวทางการ Restructure สามารถดำเนินการได้ ๓ กรณี คือ
๑) ยุบเลิก/ยุบรวม หน่วยงานในสังกัดที่มีอยู่เดิม (One-in, X-out)
๒) การถ่ายโอนภารกิจให้ภาคส่วนอื่น/ปท รับไปดำเนินการแทน ซึ่งภารกิจต้องลดลงอย่าง มีนัยสำคัญเป็นไปตามเงื่อนไข และ
๓) ยุบเลิก/ยุบรวมภารกิจหรือหน่วยงานของส่วนราชการอื่น (X-in, Y-out) ซึ่งต้องมี Value chain เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกัน

(๓) ผลจากการมีส่วนร่วม

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ทบทวนบทบาทภารกิจของหน่วยงาน เพื่อให้สอดรับกับแนวทางตาม การทบทวนแผนปฏิรูปกระทรวงสาธารณสุข

(๔) การนำผลการมีส่วนร่วมไปปรับปรุง พัฒนาการดำเนินงานของหน่วยงาน

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ทบทวน และพิจารณางานบริการสำคัญที่สามารถถ่ายโอนให้ภารส่วนอื่นหรือภาคเอกชนรับไปดำเนินการ เพื่อให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพสามารถดำเนินงานในภารกิจใหม่ที่มีความสำคัญและสามารถจัดตั้งหน่วยงานในการรองรับการขับเคลื่อนภารกิจดังกล่าวตามกฎหมายได้ต่อไป